วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ลูกเห็บ

ลูกเห็บ

ลูกเห็บ (Hail)
ลูกเห็บ (Hail)
ช่วงนี้ได้ยินว่ามีเหตุพายุลูกเห็บเกิดขึ้นบ่อยๆ บางคนอาจจะงงว่า ลูกเห็บกลมๆ เย็นๆ ทำไมมันถึงเกิดในช่วงฤดูร้อน ที่อากาศร้อนเยี่ยงนี้ได้ คำตอบมันอยู่ตรงคำว่า อากาศร้อน นี่ล่ะครับ
ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว สภาพอากาศก็เริ่มมีมวลอากาศร้อนพัดเข้ามา และด้วยอากาศที่ร้อนนี่เอง ทำให้ไอน้ำระเหยขึ้นจากพื้นสู่อากาศได้มากขึ้น และอากาศร้อนก็ช่วยยกไอน้ำเหล่านั้นดันทะลุขึ้นไปเรื่อยๆ
พอไอน้ำจับกลุ่มกันมากขึ้น ก็เกิดการควบแน่น เรียกว่า กระบวนการเกิดเมฆ ทีนี้ พออากาศร้อนยังคงดันพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ทะลุชั้นบรรยากาศเหนือพื้นโลกมากขึ้น ความดันอากาศก็ลดลง อากาศก็เย็นขึ้น ไอน้ำเหล่านี้ ก็จะกลายสภาพเป็น หยดน้ำเย็นยิ่งยวด (Supercooled Water) และกระทบกัน หรือจับกับฝุ่นละอองในอากาศ เกิดเป็นผลึกน้ำแข็ง แล้วพอจับตัวกันมากขึ้น น้ำหนักของมัน ก็จะเยอะขึ้นตามลำดับ
ดังนั้น ก้อนน้ำแข็งเหล่านั้น ก็จะร่วงหล่นลงมาด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก พอก้อนน้ำแข็งนี้ ร่วงลงมาเรื่อยๆ เปลือกด้านนอกของมันก็จะละลายตามไปด้วย แล้วถ้ามันร่วงลงมา แล้วมาเจอกับกระแสลมร้อน (Warm Updraft) พัดเข้าให้อีกรอบ มันก็จะพุ่งกลับขึ้นไปใหม่ แล้วกระบวนการด้านบนนั้น ก็จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่ง น้ำหนักของมันสามารถเอาชนะแรงลมได้ ตกลงมากลายเป็น “ลูกเห็บ (Hailstone)” อย่างที่เห็นๆ กันครับ
ลองดูกราฟิกด้านล่างนี้ แสดงองค์ประกอบของการก่อตัวของพายุจากเมฆในกลุ่มของ Cumulonimbus และการเกิดลูกเห็บ
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/01/X7425940/X7425940-2.gif
ส่วนใหญ่แล้ว ลูกเห็บมักจะมีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร จนถึง 5 เซ็นติเมตร หรือประมาณง่ายๆ ว่าตั้งแต่ ลูกปัดเล็กๆ ไปจนถึงส้มเช้ง หรือลูกเทนนิส ประมาณนั้น
ถ้าถามว่า ตกใส่หัวเราจะเจ็บมั้ย ลองนึกดูว่า ถ้าเพื่อนเราเขวี้ยงก้อนน้ำแข็งใส่หัวเรา เราอาจจะหัวแตกได้เลย แต่นี่ก้อนน้ำแข็ง หรือ”ลูกเห็บ” ที่ว่านี่  ตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก บวกกับแรงส่งจากกระแสลม Cold Downdraft จะเป็นยังไง
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/01/X7425940/X7425940-9.jpg
แต่ไม่ต้องกลัวไป ลูกเห็บเกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่เท่านั้น พวกเมฆรูปคล้ายๆ ทั่งตีเหล็ก แบบมหึมา อย่างกับมีระเบิดปรมาณูเกิดขึ้นยังไงยังงั้นเลย ในทางอุตุนิยมวิทยาเขาเรียกเมฆประเภทนี้ว่า เมฆฝนฟ้าคะนอง หรือคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) โดยในประเทศไทยลูกเห็บมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
http://37.media.tumblr.com/tumblr_mdjtkaqp5v1rgnjgzo1_1280.jpg
สถิติของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลกนั้น ตกที่ เมืองคอฟฟีย์วิลล์ (Coffeyville) รัฐแคนซัส ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยหนักถึง 770 กรัม (หรือ 1.7 ปอนด์) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร (5.7 นิ้ว) ส่วนลูกเห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ ออโรรา (Aurora) รัฐเนบราสกา ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร(7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจเนื่องมาจากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตกกระทบบ้าน
การตกลงมาของน้ำแข็งอีกประเภทที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกเห็บเรียกว่า Megacryometeors หรือ ลูกเห็บยักษ์
http://tierra.rediris.es/megacryometeors/feliz1.jpg
กระบวนการเกิดของลูกเห็บยักษ์ยังเป็นที่สงสัย สันนิษฐานว่าคล้ายกับการเกิดของลูกเห็บ และเกิดในฤดูร้อนขณะที่อากาศแจ่มใส การวิเคราะห์ลูกเห็บยักษ์แสดงองค์ประกอบเข้าคู่กับฝนในบริเวณที่มันตก ไม่ได้มาจากเครื่องบิน เพราะมีการบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์นี้ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์เครื่องบิน ผลการทดสอบแรกบ่งชี้ว่าการผันแปรในช่องว่างโทรโพพอส(ช่องที่อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์กับสตราโตสเฟียร์) สามารถสอดคล้องกับการเกิดลูกเห็บยักษ์ มีบางครั้งผู้เห็นเหตุการณ์ก็คิดว่าเป็นอุกกาบาตเพราะลูกเห็บยักษ์สามารถทำให้เกิดหลุมขนาดเล็กๆ ได้
ลูกเห็บยักษ์กว่า 50 ลูกที่ได้รับการบันทึกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.5-200 กิโลกรัม ลูกหนึ่งที่ตกในประเทศบราซิลหนักถึง 220 กิโลกรัม

ข้อมูลอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น